วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

FIBER OPTICS TO THE HOME (FTTH)

Fiber optics to the home (FTTH) คือเทคโนโลยีที่นำข้อมูล ข่าวสารต่างๆขนาดมหาศาลมาถึงบ้านผู้ใช้บริการ ด้วยเคเบิลใยแก้วนำแสงที่มีขนาดเล็กและเบาแต่สามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้ อย่างรวดเร็วด้วยคุณภาพที่สูง

แนวคิดด้าน Fiber Optics to the home (FTTH) มีการกล่าวถึงกันมานานแล้ว มีหลายบริษัทที่มีความพยายามนำแนวคิดนี้นำมาให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าราย เล็กๆโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยที่เป็นโฮมยูสเซอร์ทั่วไปโดยเฉพาะ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่มีการวางระบบเครือข่าย Fiber Optic เพื่อให้บริการในรูปแบบ FTTH เช่นบริษัท BellSouth มีการวางสายFiber เข้าไปที่เขต Dunwoody ใน Atlanta ประมาณ 400 หลัง.Futureway บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมของแคนนาดาเริ่มมีการสร้างระบบเชื่อมต่อ Fiber เข้าสู่ตามที่พักอาศัยแล้วในเมือง Toronto.ในด้านผู้ผลิตอุปกรณ์(Supplier)ในด้านนี้อย่าง Optical Solution มีอัตราการเติบโตที่ดีมียอดขายอุปกรณ์ด้าน Fiber เพิ่มมากขึ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนแนวโน้มและทิศทางที่ดีของการใช้งานด้าน Fiber Optics to the home แต่เมื่อมองดูความต้องการการใช้งานในตลาดจากผู้บริโภคปรากฏว่ามีการขยายตัว น้อยมาก

เมื่อพิจารณาทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ไม่น่าจะมีอุปสรรคในด้านการให้บริการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า Fiber Optic มีการใช้งานมานานแล้วอย่างแพร่หลายในด้านของระบบโครงข่ายดังนั้นสิ่งที่เป็น อุปสรรคของการเติบโตของ FTTH น่าจะมาจากปัจจัยด้านอื่น ดังต่อไปนี้

• งบประมาณการลงทุนด้านการวางโครงข่าย Fiber Optics
• ความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคที่แท้จริง
• การแข่งขันกับรายเก่าในตลาด งบประมาณการลงทุนด้านการวางโครงข่าย Fiber Optics

ที่ผ่านมามีหลายบริษัทและหลายประเทศที่มีการทดลองในการให้บริการด้าน FTTH เช่น ญี่ปุ่น แคนนาดา ฝรั่งเศส ซึ่งการทดลองสะท้อนให้เห็นว่าการลงทุนในการสร้างโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่ว พื้นที่ในการให้บริการนั้นต้องใช้เงินในการลงทุนสูงมาก เนื่องจากราคาของ Fiber ยังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับราคาของสาย Copper ในปัจจุบัน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องงบประมาณด้านการลงทุนของ Fiber network. ประเด็นคือการใช้ Fiber Optic ในรูปแบบของ Fiber Optics to the business(FTTB) ที่ปัจจุปันมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ แต่ขนาดของตลาดก็ยังไม่ใหญ่พอที่จะทำให้ราคาของ Fiber Optic ลดลงมากนัก ดังนั้นในอนาคตการเติบโตของ Fiber Optics to the business(FTTB) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่ตามมาคือ ราคาของ Fiber Optic และอุปกรณ์ จะมีราคาลดลง ปัจจัยนี้น่าจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ต้นทุนในการให้บริการในโครงข่ายของ FTTH ลดลงด้วย อีกประเด็นหนึ่งคือปัญหาด้านการวางโครงข่ายใหม่เข้าไปในย่านพักอาศัยมักจะมี อุสรรคจากการขุดถนนเพื่อวางแนว Fiber ที่มักจะทับซ้อนกับระบบไฟฟ้าและระบบสาย copper ปัญหานี้ก่อให้เกิดต้นทุนสูงในการก่อสร้างอีกด้วย

ความต้องการการใช้งานของผู้บริโภคที่แท้จริง
ในปัจจุบันการใช้งานด้านการสื่อสารมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การใช้งานด้าน Internet, TV on demand,Video conference การ access จากที่บ้านหรือที่พักอาศัยเข้าสู่โครงข่ายการให้บริการมีอยู่หลายเทคโนโลยี หลักๆได้แก่
• Digital subscriber line(DSL) เช่น ADSL เป็นเทคโนโลยีของการประยุกต์สาย Copper ของระบบโทรศัพท์มาใช้ประโยชน์ในการรับส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถส่งข้อมูลสูงสุด 8 Mbps
• Leased Line เป็นอีกเทคโนโลยีที่ใช้สาย Copper มาใช้ในการรับส่งข้อมูลสามารถส่งข้อมูลได้อื่น ด้วยความเร็วตั้งแต่ 9.6k,64k,128k จนถึง 2Mbps
• Cable modem ใช้สาย Coaxial เป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 2-3 Mbps

เมื่อพิจารณาการเลือกใช้งานด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภคในปัจจุบันเพื่อเข้าไป Access ข้อมูลจากระบบสามารถสร้างความพอใจได้ในระดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Modemในการเชื่อมต่อที่ให้ความเร็วเพียง 56 Kbps เมื่อมองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคในเรื่องของการใช้งานแน่นอนว่าใน อนาคตความจำเป็นในการ Access จากที่พักอาศัยเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้นเนื่องจากการให้บริการ Multimedia ที่จะเกิด ดังนั้นความต้องการในเรื่องความเร็วในการรับส่งเป็นเรื่องที่ผู้ใช้งาน ต้องการมากขึ้น.ประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีของ Fiber Optic แบบ FTTH สามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 100-1000 Mbps น่าจะตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมองปัจจัยด้านราคาค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเทคโนโลยี ที่ใช้อยู่มาเป็น FTTH นั้นก็เป็นอุปสรรคเช่นกันที่ผู้ใช้งานจะยอมลงทุน ส่วนใหญ่อาจจะมองว่าเทคโนโลยีเก่าที่ใช้อยู่น่าจะเหมาะสมกว่าเมื่อเทียบ ระหว่างค่าใช้จ่ายกับความต้องการของการใช้งาน

การแข่งขันกับรายเก่าในตลาด
ปัจจุบันผู้ให้บริการด้านโครงข่ายมากมายทั้งแบบ Wireline และ Wireless ที่สามารถสร้างวงจรการใช้งานเข้าไปสู่การใช้งานภายในบ้านพักอาศัย การที่ผู้ให้บริการด้าน FTTH จะเข้ามาแข่งขันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักมีหลายปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการ แข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดกับผู้ให้บริการรายเดิมที่ให้บริการอยู่เช่น ด้านการลงทุนโครงข่ายที่ต้องใช้เวลาและเงินลงทุนที่สูงในขณะที่ผู้ให้บริการ รายเดิมมีการวางโครงสร้างไว้แล้วสิ่งนี้จะสะท้อนให้เห็นได้ในเรื่องของราคา การให้บริการ มีการแข่งขันกันด้านราคา หรือเกิดจากผู้ให้บริการรายเดิมที่ให้บริการโครงข่ายเก่าอยู่และมีแนวคิดที่ จะให้บริการด้าน FTTH อาจจะเกิดความลังเลในการให้บริการเนื่องจากมีการลงทุนในระบบเก่าไปแล้วแต่ ยังไม่สร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมา

จากรายละเอียดที่กล่าวมาพอจะเห็นภาพได้ว่า Fiber Optics to home มีข้อจำกัดอยู่หลายด้านในการผลักดันระบบโครงข่ายให้เกิดการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุปัน แต่ในอนาคตนั้นบททางของการใช้ FTTH น่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนจากแรงผลักดันต่อไปนี้
Technology Push : มีการร่วมมือกันของบริษัทชั้นนำของโลก เช่น British Telecom , BellSouth , France Telecom , Nippon Telegraph and Telecom และ GTE เพื่อผลักดันมาตราฐานระบบ Full Service Access Network (FSAN). FSAN ได้รับการยอมรับจาก ITU ในด้านการให้บริการด้านระบบการใช้งานด้าน Fiber to Home and Business สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ มีการออกแบบระบบ Passive optical network ซึ่งระบบนี้นำไปสู่การลดต้นทุนของการให้บริการได้ไม่ว่าจะป็นด้านอุปกรณ์ การติดตั้ง และการดูแลรักษา ซึ่งบริษัทที่มีการพัฒนามาตราฐาน FSAN อย่าง Lucent , NEC , British Telecom , BellSouth ได้ทำการพัฒนาระบบและตัวอุปกรณ์เพื่อนำไปสู่การการให้บริการ. นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้สำหรับติดตั้ง ภายในบ้าน เรียกว่า Triplexer เป็นวงจรที่ผสมผสานระหว่าง electrical และ optical องค์ประกอบและโครงสร้างได้แก่ waveguides และ filters ทำหน้าที่ส่งข้อมูลและแยก photons ออกเป็นwavelengthและ planar lightwave circuit (PLC) เป็นอุปกรณ์คล้ายกับ Triplexer เช่นกัน. สิ่งเหล่านี้คือแรงผลักดันของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่จะทำให้ Fiber Optics to home เกิดขึ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Market Pull : ระบบ Internet ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งด้านการทำงานและความบันเทิง การให้บริการ IP-TV , Video on demand และการบริการอีกมากมายในอนาคต เมื่อทั้งหมดมีความต้องการใช้งานจากที่บ้านพักอาศัย โดยเฉพาะครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีความต้องการใช้งานแตกต่างกัน สิ่งนี้จึงสะท้อนไปที่การต้องการของประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อโครงข่ายและ ความต้องการ bandwidth ขนาดใหญ่ในการรับส่งข้อมูลซึ่งความต้องการนี้ก็เป็นอีกแรงผลักดันที่จะทำให้ Fiber Optics to home เกิดขึ้นได้

สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันได้เริ่มมีผู้ให้บริการด้าน Fiber Optics to home บ้างแล้ว คือบริษัทฟรีอินเตอร์เน็ท จำกัด ที่ร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับบริษัทในประเทศออสเตรเรีย ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาการสื่อสารด้าน โทรคมนาคมนอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านคร หลวงในด้านการวางโครงข่ายสายไฟเบอร์
สำหรับการไฟ้ฟ้านครหลวงมีการเปิดให้การในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรีและสมุทรปราการ
ส่วนการไฟฟ้าส่วนภุมิภาคมีการเปิดทดลองใช้ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ระยอง ภูเก็ต และ สมุย

ส่วนรูปแบบการให้บริการมี 3 บริการประกอบด้วย ระบบโทรศัพท์ โทรทัศน์แบบอินเตอร์แอ็กทีฟทีวี และอินเตอร์เน็ทความเร็วสูงระดับ 100 Mbps

แหล่งที่มา

• View topic - FIBER OPTICS TO THE HOME (FTTH)
9 โพสต์ - 6 ผู้เขียน
Optics to the home (FTTH) คือเทคโนโลยีที่นำข้อมูล ... ประเด็นคือการใช้ Fiber Optic ในรูปแบบของ Fiber Optics to the business(FTTB) ...
www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=71100

ISDN

ISDN (Integrated Service Digital Network) คือบริการสื่อสารโทรคมนาคมระบบดิจิตอลที่สามารถรับส่งข้อมูลทั้งในระบบภาพ เสียง และข้อมูล ด้วยความเร็ว 128 Kbps ขึ้นไป ข้อดีของการใช้ ISDN คือความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารของผู้ใช้บริการไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ (Conversion) ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน (Noise) ก็จะลดลงด้วย ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้องไว้ใจได้สูงกว่าแบบเดิม

ลักษณะการใช้งานเหมือนกับการหมุนโทรศัพท์ธรรมดาปกติ คือเสียครั้งละ 3 บาท ก่อนจะใช้คุณต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของ ISP ที่เป็น ISDN ด้วยจึงจะได้ความเร็วของ ISDN ตามที่กำหนด

รูปแบบการใช้บริการ ISDN มี 2 แบบ คือ

1. แบบ BRI (Basic Rate Interface) หรือทางองค์การโทรศัพท์เขาเรียกว่า BAI (Basic Access Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการด้วยคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาจากชุมสาย ISDN จนถึงอุปกรณ์ปลายทาง คู่สายเพียง 1 คู่สาย สามารถที่จะรองรับอุปกรณ์ปลายทางชนิดต่าง ๆ ได้สูงสูด 8 อุปกรณ์และสามารถใช้งานได้ 2 อุปกรณ์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เนื่องจากภายในคู่สาย ISDN แบบ BRI นี้จะประกอบไปด้วยช่องสัญญาณ 2 ช่องโดยแต่ละช่องสามารถให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุดถึง 128 Kbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง

2. แบบ PRI (Primary Rate Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการโดยการวางเคเบิลแบบไฟเบอร์ออฟติคไปยังตู้สาขาแบบ ISDN (ISDN PABX) ของผู้เช่าเคเบิลเส้นหนึ่งจะช่องสัญญาณอยู่ 30 ช่อง แต่ละช่องให้บริการด้วยความเร็ว 64 Kbps ซึ่งแต่ละช่องสามารถที่จะรวมสัญญาณเข้าด้วยกันทำให้ได้ความเร็วรวมสูงสุด คือ 2.048 Mbps บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่

Proxy Server ด้วยรูปแบบข้างต้น ระบบของท่านจะต้องทำการติดตั้ง Proxy Serverเพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อไปยัง Internet โดย Webpage ต่างๆ ที่ถูกเรียกขึ้นมาใช้จะถูกเก็บไว้ใน Proxy Server และเมื่อ User มีการเรียกใช้ Webpage นั้น Webpageดังกล่าวจะปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาถึงข้อมูลจาก Internet มาใหม่

Mail Server การมี mail server ภายในองค์กรเอง เพื่อความคล่องตัวในการจัดการกับ mailbox ของผู้ใช้แต่ละคน โดยสามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้ e-mai lภายในองค์กรของท่าน และเนื่องจากระบบท่านเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา การรับส่ง mail จึงสามารถทำได้ทันที

DNS Server สำหรับดูแลอินเทอร์เน็ตโดเมนขององค์กร และให้บริการแก่ผู้ใช้ภายในองค์กร

Web Server เพื่อให้บริการข้อมูลบน web site ขององค์กร โดยท่านจะใช้ server ของท่านเองเพื่อความคล่องตัว

สิ่งที่ระบบขององค์กรต้องการ

1. ISDN Moderm

2. ISDN 1 คู่สาย

3. ISDN Router หรือ Computer เพื่อทำเป็น Proxy Server

สิ่งที่ เอเน็ต จัดเตรียมให้

1. โทรศัพท์ 1 คู่สาย และ Access Server 1 Post สำหรับการเชื่อมต่อจากท่าน

2. IP Address สำหรับ Server ของท่านที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล

3. จดทะเบียนอินเทอร์เน็ตโดเมนสำหรับองค์กรท่าน (คิดค่าจดทะเบียน)

แหล่งที่มา
ISDN
ลักษณะการใช้งานเหมือนกับการหมุนโทรศัพท์ธรรมดาปกติ คือเสียครั้งละ 3 บาท ก่อนจะใช้คุณต้องหมุนโทรศัพท์ไปที่เบอร์ของ ISP ที่เป็น ISDN ด้วยจึงจะได้ความเร็วของ ...
www.sakura.co.th/thai/ISDN.htm

x.25

X.25 เป็นโพรโทคอลชนิดนึงที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบ WAN โดยเป็นแบบ PACKET-SWITCHEDมันจะทำงานในส่วนของ OSI MODEl Layer ที่ 1 - 3

X.25 มีส่วนประกอบของการทำงานด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก่

DTE - ได้แก่อุปกรณ์ ตัวสุดท้ายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น TERMINAL,PC หรือ HOST ของเน็ตเวิร์ค
DCE - เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่าง PSE กับ DTE (DTE ไม่มีความสามารถในการติดต่อ กับ PSE ได้โดยตรงจะต้องทำผ่านตัวกลาง DCE ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาญ CLOCK ก่อนถึงจะส่งข้อมูลไปหา DTE ได้)
PSE - เป็นสวิตท์ที่ทำหน้าที่เป็น แอร์เรีย เน็ตเวิร์ค ขนาดใหญ่ โดยจะทำการส่งข้อมูลไปยัง DTE ด้วยโปรโตตอล X.25
ในขณะเดียวกันเราจะ พบกับ PAD (Packet Assembler/Disassembler) ใน X.25 มันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่าง DCE กับ DTE ให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ โดย เมื่อมีการส่งข้อมูลจาก PSE จะส่งมาที่ DCE หลังจากนั้น ข้อมูลจะถูกส่ง ให้กับ DTE แต่ในขณะที่ส่ง DCE จะทำการส่งผ่าน PAD ก่อน โดย PAD จะทำหน้าที่ เป็นบัฟเฟอร์ ในการกรอง ข้อมูล โดยการตัดส่วน ของ HEADER ของ X.25 ออก ก่อน

ข้อตกลงในการติดตั้งx.25 เมื่อ DTE 1ตัว ทำการร้องขอต่อส่วนการสื่อสารอื่น DTE จะทำการรับข้อตกลงหรือไม่รับก็ได้ ถ้ารับจะมีการทำงานในแบบ Full Duplex

การเลือกเส้นทางการส่งข้อมูล ของ x.25มี 2 วิธี คือ
แบบ switched (SVCs) เป็นการเชื่อมต่อชั่วคราวใช้สำหรับถ่ายข้อมูลเป็นช่วงๆ ซึ่งวงจรที่ใช้ switched ได้แก่วงจร DTE ที่มี 2แหล่ง, maintain และTerminate โดยอุปกรณ์แต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารกัน
แบบ permanent (PVCs) เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรใช้สำหรับถ่ายข้อมูลที่การถ่ายโอนการบ่อยๆ ตัวPVCs ไม่ต้องการตัวสร้างและตัว Terminate.ดังนั้นทำให้ตัว DTEทั้งหลายสามารถที่เริ่มทำการส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องขอเพราะตัวสร้างทำงานตลอดเวลา
โครงร่างส่วนประกอบของโพรโทคอล X.25

ประกอบด้วย Packet-Layer protocol (PLP) ,Link access Procedure,Balanced (LAPB) และการติดต่อแบบอนุกรมอื่นๆเช่น (EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA 530 และG.703)

แหล่งที่มา
X.25 - วิกิพีเดีย
-ปัญหาของ x.25 คือ Inherent Delay เพราะมาจากเทคนิค store-and-forward และยังต่อมีการจอง buffer ขนาดใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับ frame relay ที่จะไม่มีการ store แต่จะ ...
th.wikipedia.org/wiki/X.25