วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552

Ubuntu version Linux

Red Hat Linux==>เรดแฮ็ท เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มโปรแกรมเมอร์ ในแถบนอร์ธ-แคโลไลนาในสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างดิสตริบิวชั่นของ Linux ที่มีการติดตั้งและการใช้งานให้ง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แนวคิดพื้นฐานของเรดแฮ็ทคือเรื่องของ แพ็กเกจ (package) ซึ่งเป็นชุดของโปรแกรม ที่สามารถทำการติดตั้งเพิ่มเข้าและถอดออกได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ หรือไม่ต้องทราบรายละเอียดแต่อย่างใด (โดยปกติแล้วการติดตั้งซอฟต์แวร์ในระบบ UNIX และ Linux จะต้องขยายไฟล์ที่ถูกบีบอัดไว้ออกมาก่อน แล้วคอมไพล์ตัวโปรแกรม Linux ใหม่พร้อมกับโปรแกรมเหล่านั้น จึงจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์นั้น เพิ่มลงไปในระบบได้)ดังนั้น Red Hat จึงได้พัฒนาโปรแกรม RPM (RPM Package Manager) ขึ้นมาสำหรับติดตั้ง ถอดถอน และบริหารชุดของแพ็กเกจดังกล่าว โดยไม่ต้องเสียเวลา
คอมไพล์ใหม่ (ซึ่ง RPM ในเวอร์ชันแรกๆจะพัฒนาด้วยภาษา Perl แต่ในเวอร์ชันต่อๆมาจะพัฒนาด้วยภาษา C ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น) และนอกจาก RPM แล้วทางบริษัท Red Hat ก็ยังได้พัฒนาโปรแกรมติดตั้งที่เรียกว่า GLINT (Graphical Linux INstallation Tool) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบกราฟิกขึ้น จึงทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมากRed Hat Linux เวอร์ชันแรกได้ออกจำหน่ายเมื่อช่วงฤดูร้อนของปี
ค.ศ. 1994 และด้วยคุณสมบัติเด่นของ RPM จึงส่งผลให้ Red Hat Linux ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นดิสตริบิวชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในเชิงธุรกิจ ขณะที่ RPM ก็ได้รับการยอมรับ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐาน ในการบริหารแพ็กเกจบนระบบ UNIX อื่นๆนอกเหนือจาก Linux ด้วยSuse==>SuSEเป็นลีนุกซ์สัญชาติเยอรมัน ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งในเยอรมันและยุโรปการติดตั้ง SuSE นั้น มีโปรแกรมที่จัดการการติดตั้งชื่อ YaST2 ซึ่งทำให้การติดตั้งได้ง่ายมากภาษาในการติดตั้งยังไม่มีภาษาไทยDebian==>Debianนั้นเริ่มเมื่อปี 1993 โดยนายเอียน เมอร์ดอค คำว่า Debian ก็มาจากชื่อของเค้า เอียน ( -ian ) กับชื่อแฟนของเค้า เด็บบาร่า (deb-) เอามารวมกันก็เป็น Debian นี่ถือได้ว่าเป็นลินุกซ์สำหรับแฮคเกอร์โดยแท้จริง Debian มีจุดแข็งอยู่ตรงระบบการลงโปรแกรมที่เรียกได้ว่าดีมากๆ เรียกว่า APT ที่ใช้งานได้ง่ายกว่า RPM ของเรดแฮทมาก และจะสะดวกมากขึ้นอีกถ้าเรามีเน็ตแรงๆ อยู่ด้วย เนื่องจากว่า APT จะทำการอัพเดทโปรแกรมให้เราอัตโนมัติ เช่น ต้องการลง Mozilla แค่สั่ง apt-get mozilla แล้วก็รออย่างเดียว Mozilla ก็จะพร้อมใช้งานทันที แต่ว่าส่วนอื่นๆ ของ Debian ยังไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้หน้าใหม่เช่นกัน เลยมีบริษัทหัวใสจำนวนมาก ได้นำ Debian ดั้งเดิมมาดัดแปลงให้เหมาะกับผู้ใช้หน้าใหม่มากขึ้น แล้วนำมาขาย เช่น Xandros และ LindowsMandrakeLinux==>Mandriva Linuxเป็นลีนุกซ์ดิสโทรที่มีบุคลิกที่สุดสำอาง เริ่มพัฒนามาพร้อมๆ กับ Red Hat Linux แต่มีแนวทางเป็นของตนเอง และไม่คิดตามหลังใคร มิหนำซ้ำยังหาญกล้านำเทคโนโลยีใหม่ๆ มารวมไว้ก่อนดิสโทรอื่นเสมอๆ จนทำให้มีหมายเลขเวอร์ชั่นหนีห่างจาก Red Hat ชนิดไม่เห็นฝุ่น ความที่เน้น Cutting-Edge Technology เช่นนี้มากจนเกินไป จนลืมให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจการจึงทำให้ขาดทุนและเกือบต้องเลิกกิจการไป หลังจากได้รับการบริจาคเงินช่วยเหลือและต่อมารวมกิจการกับ Connectiva Linux จนเป็น Mandriva Linux แล้ว ลีนุกซ์ดิสโทรนี้ก็ยังคงมีลักษณะที่เน้นการนำเสนอเทคโนโลยีล้ำหน้าคู่แข่งเสมอมาเรียนรู้เพิ่มเติม(http://www.redhat.com/)บริษัท(http://www.suse.com/)(http://www.debian.org/)โครงการ

LAN คือ อะไร

LAN คือ อะไร ?
1. ความหมายของ ระบบ LAN ย่อมาจาก Local Aria Network ซึ่งแปลได้ว่า “ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก” ที่ต้องประกอบด้วย Server และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น ผู้ให้บริการ และ ผู้ใช้บริการ โดยที่ ผู้ให้บริการ ซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำให้การทำงานเป็นเช่นไร และในส่วนของ Server เองจะต้องเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้าง หน่วยความจำ ได้มาก มีระดับการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
2. วัตถุประสงค์ของ ระบบ LAN ระบบ LAN ซึ่งเป็น ระบบเครือข่าย แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันในวงที่ไม่ใหญ่โตนัก โดยจะมี คอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ ต่อเข้าเพื่อขอใช้บริการ ดังนั้นในระบบ LAN จึงเป็นลักษณะที่ผู้ใช้หลายบุคคลมาใช้ข้อมูลร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่างๆ ตามหัวข้อต่อไปนี้
แบ่งการ ใช้แฟ้มข้อมูล
ปรับปรุงและจัดการ แฟ้มข้อมูล ได้ง่าย
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกันได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
สามารถใช้ แฟ้มข้อมูล ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็วการแบ่งปันการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม CD-ROM ฯลฯ
การแบ่งปันการใช้ โปรแกรมซอฟต์แวร์ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานควบคุมและดูแลรักษาข้อมูลได้ง่ายสามารถรวมกลุ่มผู้ใช้ ข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วเพื่อการติดต่อสื่อสาร ของผู้ใช้เช่น บริการ Email ,Talk ฯลฯ ดังนั้น ระบบ LAN จึงเป็นที่นิยมกันในส่วนของ บริษัท สถานศึกษา และหน่วยงาน ต่างๆ มากมาย ซึ่งจะให้ผลที่คุ้มค่าในระยะยาวนาน
3. การเชื่อมโยง เครือข่ายของ ระบบ LAN มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง โครงข่ายของ ระบบเครือข่าย (Topology) และ โปรโตคอล ที่ใช้ในระบบ LAN และจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ใช้ใน ระบบ LAN และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LAN มีดังต่อไปนี้

3.1 โครงข่ายของ ระบบเครือข่าย(Topology)
3.2 โปรโตคอล ที่ใช้ในระบบ LAN
3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
3.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ LAN

ระบบเครือข่ายเบื้องต้น

ระบบเครือข่ายหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า LAN ( Local Area Network )นั้นก็คือ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ แล้วทำไมเราต้องใช้ระบบเครือข่ายละ ลองนึกดูว่าแต่ก่อนเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง การทำงานต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่ที่เครื่องเดียว แต่ในองค์กร หรือตามบ้านเองก็ตามแต่ หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองเพิ่มขึ้นมา ความต้องการในการ ที่จะต้องมีการนำข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง มายังอีกเครื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้น เป็นแน่ หาเป็นแรก ๆ ที่ยังไม่มีระบบเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คงใช้ Diskette ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง และนั่นแหละคือความยุ่งยาก น่าเบื่อหน่าย และความไม่สะดวกต่าง ๆ ในการทำงาน ลองนึกภาพดูแล้วกันว่าหากว่าต้องการ Copy File ที่มีขนาดใหญ่กว่าความจุของแผ่น Diskette เราก็ไม่สามารถที่จะทำการ Copy ได้ และนั่นแหละ เขาก็เลยต้องหาวิธีการต่าง ๆ มาทำให้เครื่องสองเครื่องหรือมากกว่า สามารถที่จะส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โดยการนำเอาสายสัญญาณมาทำการเชื่อม ต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถที่จะส่งสัญญาณหากันได้โดยผ่านระบบสายสัญญาณต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อ และรูปแบบในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อนี้ก็มีหลายรูปแบบ และบางคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับคำว่า Ethernet คืออะไร เพราะว่าเป็นคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ อธิบายนิดหนึ่งแล้วกัน คำว่า Ethernet เป็นคำเรียกที่ใช้เรียกระบบเครือข่าย ที่มีการส่งข้อมูลกันที่ความเร็ว 10Mbps ถ้าเป็นคำว่า Fast Ethernet ก็จะหมายถึงเป็นการส่งข้อมูล ของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps และถ้าเป็นคำว่า Gigabit Ethernet ก็จะหมายถึงความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps ซึ่งการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายในปัจจุบันนี้ใช้ โปรโตคอลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection)ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์ก หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กร และสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mail ภายในองค์กรหรือ ระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (Video Conference) สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ทเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน ระบบเน็ทเวิร์กสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือLAN (Local Area Network) หรือ แลน คือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิว เตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ชื่อของโปรแกรมระบบแลนที่โด่งดังก็มี Novell, Windows NT ดู WAN เปรียบเทียบ MAN ( Metropolitan Area Network )ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นเน็ทเวิร์กที่ต้องใช้โครงข่ายของการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อสื่อสาร กันในเมืองหรือในระดับ LAN to LANWAN (Wide Area Network )เป็นเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ หรือเครือข่ายคนละชนิดที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คนละจังหวัด หรือคนละประเทศเข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเครือข่ายที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ท" นั้นเอง จะต้องใช้มีเดีย( Media ) ในการสื่อสารขององร์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up line/ คู่สายเช่า leased line/ISDN* )มี 2 ระบบ คือ
1. Peer to Peer ระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB
2.Client / Server ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่าย คือ Netware, Windows NT/2000/2003, Unix เป็นต้น โครงสร้างของระบบเครือข่ายภาษาเทคนิคเรียกว่า(Topology) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างเครืองคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งแบ่งออกตามหลักวิชาการตั้งแต่สมัยก่อนนั้น แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ- โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology) - โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Topology) - โครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology) - โครงสร้างแบบผสม (Hybrid Topology) มีเพิ่มเติมมาคือ โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network)
1. โครงสร้างแบบบัส (Bus Network) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นเดียว ลากต่อกันไป ทำให้โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนก็คือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครื่องรวนไปทั้งระบบ ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้ก็คือไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่างเช่น ฮับ/สวิทช์ ใช้สายเพียงเส้นเดียวก็เพียงพอแล้ว โครงสร้างแบบนี้จึงเหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก และในปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเพิ่มเติมเลย ความเร็วก็เพียง 10 Mbps
2. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network) ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์นี้ ดูไปแล้วจะคล้ายๆ ดาวกระจาย คือจะมีอุปกรณ์เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบี้มีประโยชน์คือ ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ นอกจากนี้ถ้าหากเราเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปอีกในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันที การต่อแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางคือ ฮับ/สวิทช์ ราคาได้ถูกลงอย่างมากแล้วในขณะที่ประสิทธิภาพก็ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันเป็นความเร็วขนาดกิกาบิตแล้ว
3. โครงสร้างแบบริง (Ring Network)ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นลักษณะวงแหวน การส่งข้อมูลจะเป็นแบบทิศทางเดียว ซึ่งถ้าส่งไปแล้วไม่ตรงกับคอมพิวเตอร์เครื่องรับตามที่เครื่องต้นทางระบุมา ก็จะส่งไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงปลายทางคือตรงกับเครื่องใครก็จะรับ ไม่ส่งต่อ จุดอ่อนของระบบก็คล้ายๆแบบบัส ปัจจุบันผมยังเห็นใช้อยู่ในธนาคาร พวก Mainfram IBM AS/400 เป็นต้น
4. โครงสร้างแบบผสม (Hybird Network)ลักษณะสุดท้ายของของโครงสร้างแบบนี้ก็คือการนำเครือข่ายๆ ย่อยๆ ที่มีโครงข่ายตามแบบที่ผมกล่าวข้างต้นทั้ง สามแบบมารวมกัน หรือ เชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะแบบนี้ยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกด้วย เช่น โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree หรือ Hierachical หรือ Mesh) ก็คือเครือข่ายผสมที่เกิดจากการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบบัสและแบบสตาร์มาผสมกัน หรือโครงสร้างแบบไร้รูปแบบ (Mesh) ซึ้งก็คือโครงสร้างแบบสตาร์ผสมกับบัสที่เชื่อมต่อกันแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน5. โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network)ที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับโครงข่ายข้างต้นนั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สายแต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใหม่เกิดขึ้นมา ที่เรียกว่าเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless) จะใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล จึงทำให้แตกต่างกันออกไป และโครงสร้างแบบนี้ได้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Peer-to-Peer และ Client Server นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือหรือ Cellular Network ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบไร้สายด้วย ลักษณะจะคล้ายๆเป็นรูปรังผึ้งFDDI (Fiber Distributed Data Interface)FDDI (Fiber Distributed Data Interface) เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ได้รับความนิยมไปใช้งานสูงเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน โดยนำไปใช้ในลักาณะการเชื่อมต่อเป็น Backbone ( ใช้เป็นสายสัญญาณหลักเชื่อมระหว่างเครือข่าย LAN) เทคโนโลยีนี้สามารถให้ความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลสุงถึง 1000 Mbps จึงมักใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงมาตรฐาน FDDI กำหนดขึ้นจากหน่วยงานมาตรฐานสหรัฐฯ (ANSI : American National Standards Institute) และหน่วยงานมาตรฐานสากล (ISO : International Standard Organization) กำหนดให้ชั้น Physical (จากโมเดลมาตรฐษน ISO 7 Layer) เป็นสายใยแก้วนำแสง โดยเชื่อมต่อเป็นวงแหวนซ้อนกันสองวง (มาตรฐานของ ANSI และ ISO นั้นมีความเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบ) FDDI จะเป็น Token-Passing ตามมาตรฐาน 802.5 การกำหนดวงแหวนเป็นสองวงนั้นก่อให้เกิดการทำงานที่คงทนต่อความผิดพลาด เครื่องแต่ละเครื่องในเครือข่าย FDDI จะเชื่อมต่อเข้ากับวงแหวนทั้งสองที่เรียกว่า Primary Ring และ Secondary Ring หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือเส้นหลักกับเส้นรองนั่นเอง หากเกิดปัญหาที่เส้นใดเส้นหนึ่งเพียงจุดเดียวก็จะมีการแยกส่วนที่มีปัญหาออกไป แต่ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นหลายๆ จุดพร้อมกัน ก็จะเกิดการแยกตัวเป็น" Ringlets" ขนาดย่อมขึ้น ซึ่งแต่ละส่วนที่แยกจากกันจะไม่สามารถสื่อสารกันได้ ข้อกำหนดของ FDDI ยังกำหนดโปรโตคอลที่ใช้ควบคุมการทำ Media Access (ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลในชั้น Data-Link นั่นเอง) โดยกำหนดให้ทุกๆ เครื่องในเครือข่ายจะมีแอดเดรสขนาด 6 ไบต์เทคโนโลยีของระบบเครือข่ายเป็นรูปแบบการสื่อสาร(Ethernet) ในระบบเน็ทเวิร์กหรือที่เราเรียกว่า โปรโตคอล(Protocal) ในระบบแลน ซึ้งในเนื้อหานี่ผมจะกล่าวถึงความหมายของมาตราฐาน IEEE และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Ethernet และ Protocal รวมทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายเบื้องต้นโปรโคตอลมาตรฐานสำหรับเครือข่ายIEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) และ EIA ( Electronics-Industries association) เป็นหน่วยงานสากลที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการออกแบบผลิตภัตณ์อิเล็กทรอนิกส์กำหนดรูปแบบการสงสัญญาณ ฯ จะมีโปรโตคอลอยู่ 3 แบบ ด้วยกันคือARCnet Ethernet Token Ring ARCnetเป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท Data Point ประมาณปี 1977 ( Attached ARCnet Resource Computing Network) ใช้หลัการออกแบบ "Transmission Permission" ในการส่งข้อมูล จำมีการกำหนดตำแน่งแอดเดรสของเครื่องเวิร์กสเตชั่นลงไปด้วย สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus และ Star มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเพียง 2.5 Mbps (2.5 เมกกะบิตต่อวินาที) ทำให้ไม่เป็นที่นิยมมากนักEthernet เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยปริษัท Xerox ประมาณปี 1970 ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD ( Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) ในการส่งแมสเซจไปบนสายสัญญาณของระบบเครือข่าย ถ้าหากมีการส่งออกมาพร้อมกันย่อมจะเกิดการชนกันของข้อมูล (Collision) ของสัญญาณทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที CSMA/CS จะใช้หลักการวิธีของ Listen vefore-Transmiting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าในขณะนั้นมีการ รับ - ส่ง ข้องข้อมูลในเน็ทเวิร์กนั้นหรือไม่ ถ้ามีการชนกันของข้อมูล ต้องรอจนกว่าสายเคเบิ้ลนั้นจะว่างแล้วจึงทำการส่งข้อมูลนั้นออกไปบนสายเคเบิ้ลโพรโตคอล IP เหมาะกับเครือข่ายใดบ้างTCP/IP หลายเทคโนโลยีที่เราท่านใช้อยู่ทั่วไปมีจุดกำเนิดจากเทคโนโลยีการสงคราม IP เน็ตเวิร์กก็เป็นหนึ่งในนั้น เมื่อครั้งสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต กระทรวงกลาโหมภายใต้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จ้างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทำวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายที่ทนต่อความล้มเหลว (ด้วยระเบิดนิวเคลียร์) สิ่งที่ได้คือโพรโตคอล TCP/IP เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรโตคอลนี้เรียกสั้น ๆ ว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) คือชุดของโพรโตคอลที่รวมกันเป็นกลุ่มให้ใช้งานเช่น Internet Protocol (IP) , Address Resolution Protocol (ARP), Internet Control Message Protocol (ICMP), User Datagram Protocol (UDP) ฯลฯ แต่โพรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Protocal (IP) โดยมีหลักการทำงานคือ แบ่งเนื้อข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่าแพ็กเก็ตส่งแพ็กเก็ตไปยังเส้นทางที่เหมาะสมเป็นทอดจนกว่าจะถึงปลายทาง แต่ละแพ็กเก็ตอาจใช้เส้นทางคนละทิศขึ้นกับการพิจารณาของเราเตอร์ในช่วงต่าง ๆ หากเกิดข้อผิดพลาด ณ ช่วงการส่งใด เราเตอร์ที่รับผิดชอบการส่งช่วงนั้นจะจัดส่งแพ็กเก็ตชิ้นนั้นใหม่โดยอัตโนมัติ เมื่อถึงจุดหมายระบบปลายทางจะรวบรวมแพ็กเก็ตกลับให้เป็นเนื้อข้อมูลดังเดิม ซึ่งถ้าจะว่ากันตามทฤษฏีแล้ว TCP/IP นั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วนด้วยกันก็คือ TCP หรือ Transmission Control Protocol และอีกส่วนก็คือ IP หรือ Internet Protocol นั่นเอง การแบ่งลักษณะในการทำงานก็จะแบ่งเป็น TCP มีหน้าที่ในการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้รับ และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ส่ง ให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง--------------------------------------------Peer to Peerระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUBข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer # ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ# สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้# ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดClient / Server ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่าย คือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้นข้อดีของการต่อแบบ Client / Server * สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้* มีระบบ Security ที่ดีมาก* รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี* สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลางP2P Power P2P หรือเต็มๆ Peer to Peer อาจจะมีคำอื่นอีกเช่น People to People ,Point to Point ซึ่งมีความหายคล้ายคลึงกันPeer to Peer คือ ...- ระบบที่อนุญาติให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย- ระบบการสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยตรง- ฯลฯแต่เดิมนั้นเมื่อเราต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากแม่ข่ายโดยใช้ FTP*,HTTP** นั้นหากมีคนที่ต้องการไฟล์เดียวกับเรา 500 คนมาดาวน์โหลดบนแม่ข่ายเดียวกันพร้อมๆ กันโดยแต่ละคนมี Bandwidth คนละ 256kbpsถ้าจะให้ทุกคนนั้นได้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดตัวแม่ข่ายจะต้องมี Bandwidth เท่ากับ 256kbps * 500 (125mbit) เลยทีเดียวซึ่งไม่ใช่เพียงแต่จะเปลือง Bandwidth เท่านั้น แต่ยังจะต้องใช้แม่ข่ายที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยจากปัญหาดังกล่าวนี้เองทำให้โปรแกรมแชร์ไฟล์ P2P ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ทรัพยากรของแม่ข่ายให้น้อยลงนั้นเองระบบ P2P นั้นถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันโดยที่ไม่พึ่งแม่ข่ายในการแจกจ่ายไฟล์และทำให้สามารถหาไฟล์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น*FTP = File Transfer Protocal**HTTP = Hypertext Transfer Protocalจากความหมายนี้เองทำให้เราเรียกโปรแกรมที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันโดยไม่ได้ร้องขอไฟล์จากแม่ข่ายว่า "P2P File Sharing"โปรแกรมประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายตัวด้วยกัน เช่น Emule, Kazaa, Edonkey ฯลฯ หลักการทำงานคร่าวๆของโปรแกรมก็คือ1.เชื่อมต่อไปยังแม่ข่ายเพื่อยืนยันตัวตนและส่งสารบัญไฟล์ที่เราแชร์ไว้ไปด้วย2.หากเราต้องการหาไฟล์สักไฟล์หนึ่งเมื่อเราระบุ Keyword** โปรแกรมจะส่งคำร้องไปยังแม่ข่ายจากนั้นแม่ข่ายจะส่งรายชื่อไฟล์พร้อมข้อมูลตัวตนของคนที่มีไฟล์ที่ตรงกับ Keyword ที่เราระบุกลับมา3. เมื่อเราพบไฟล์ที่ต้องการแล้วตัวโปรแกรมจะใช้ข้อมูลที่ได้จากแม่ข่ายติดต่อไปยังคนนั้นๆโดยตรงเพื่อร้องขอไฟล์จากการทำงานจะเห็นได้ว่าตัวแม่ข่ายนั้นไม่ได้เป็นคนเก็บไฟล์จริงๆไว้เพียงแต่เก็บเป็นสารบัญไว้เท่านั้นเครื่องบริการ (Server)Web serverคือ บริการ HTTP(HyperText Transfer Protocol) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.thaiall.com/ หรือ http://localhost/ เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รอรับคำร้องขอจาก web browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพจ ภาพ หรือเสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ web คือ Apache web server หรือ Microsoft web serverDNS server คืออะไร Domain Name System server เป็นเครื่องบริการแปลงชื่อเว็บเป็นหมายเลข IP ซึ่งการแปลงชื่อนี้อาจเกิดในเครื่อง local เอง จาก cache ในเครื่อง local หรือจากเครื่องบริการของผู้ให้บริการ FTP serverFTP(File Transfer Protocol)คือ เครื่องบริการการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกเข้าใช้ แต่บางเครื่องอาจเป็นให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าใช้ โดยใช้รหัสสมาชิก anonymous ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็นรหัสผู้ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม FTP คือโปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนข้อมูล โดยเครื่องที่เปิดบริการ FTP จะเปิด TCP port 21 ไว้ การเชื่อมต่อของ FTP มี 2 mode
1. FTP standard mode คือ การเชื่อมต่อที่ server เชื่อมต่อกับ client ผ่าน port 20 เป็น Out going port ส่วน port ฝั่ง client จะแล้วแต่ตกลงกัน แต่ถ้า client มี firewall ที่ไม่บริการ ftp ก็จะติดต่อไม่ได้
2. FTP passive mode คือ การเชื่อมต่อที่ client เป็นผู้เชื่อมต่อไปยัง server เพื่อใช้หมายเลข port ที่แล้วแต่จะตกลงในการส่งข้อมูล Mail serverคือ เครื่องบริการรับ-ส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาย ส่ง attach file หรือการมี address book เป็นต้น ตัวอย่าง mail server ที่เป็นที่รู้จักทั่วไป เช่น hotmail.com หรือ thaimail.com เป็นต้น SMTP server คืออะไร Simple mail transfer protocol server คือเครื่องบริการส่ง e-mail ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ สำหรับ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP เพราะอาจมีคนในโลกใบนี้มาแอบใช้ ทำให้บริการ SMTP ทำงานหนักให้กับคนภายนอกโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ หากเครื่องของท่านบริการ SMTP แก่คนนอก แสดงว่าไม่ได้กำหนด RELAY ไว้ เพราะชาวโลกอาจใช้เครื่องมือค้นหา "OPEN RELAY" แล้วพบว่าเครื่องของท่านเป็นเครื่องหนึ่งที่ไม่ได้ทำ RELAY ไว้ก็ได้ และที่อันตรายคือ อาจมีชาวโลกบางคนใช้โปรแกรม MOBI+ กำหนดให้เครื่อง SMTP ของท่าน bomb mail ไปยัง mail box ของเป้าหมาย และหมายเลขเครื่องที่โจมตี ก็คือ เครื่อง SMTP ของท่านนั่นเอง POP server คืออะไร Post office protocol server คือบริการรับ-ส่งเมลจาก mail server กับเครื่องของสมาชิก บริการนี้ ทำให้สามารถอ่าน mail ด้วยมือถือ หรือ PDA แต่ถ้าท่านใช้ mail ของ thaimail.com จะเป็น web-based mail ที่เปิดอ่าน e-mail ได้จาก web เท่านั้น จะเปิดด้วย outlook หรือ pda ไม่ได้Database serverคือ เครื่องบริการข้อมูล ที่เปิดให้ผู้ใช้เพิ่มข้อมูล ลบ หรือแก้ไข สำหรับโปรแกรมบริการระบบฐานข้อมูลที่นิยมใช้ ได้แก่ MYSQL หรือ Microsoft Access เป็นต้น โดยผู้ใช้ต้องเขียนโปรแกรมสั่งประมวลผล ปรับปรุงข้อมูล หรือนำข้อมูลในส่วนที่ตนเองมีสิทธิ์ ไปใช้ตามต้องการ Proxy หรือ NAT serverพร็อกซี่ เซิร์ฟเวอร์(Proxy server)คือ เครื่องที่อยู่ตรงกลางระหว่างเครื่องลูกกับอินเทอร์เน็ต เพราะเครื่องลูกในเครือข่ายทั้งหมดจะไม่ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง เมื่อเครื่องลูกเรียกดูข้อมูล จะส่งคำขอให้เครื่อง Proxy server และค้นหาข้อมูลนั้นใน เครื่อง Proxy server ว่ามีหรือไม่ หากมีก็จะส่งกลับไปให้เครื่องลูก โดยไม่ออกไปหาจากแหล่งข้อมูลจริง เพราะข้อมูลนั้นถูกเก็บในหน่วยความจำของเครื่อง Proxy server แล้ว จึงเป็นการลดภาระของระบบเครือข่าย ที่จะออกไปนอกเครือข่ายโดยไม่จำเป็น จะเห็นว่า Proxy server ทำหน้าที่เป็น Cache server ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ผู้ใช้เคยร้องขอ หากมีการร้องขอข้อมูลที่ไม่มีใน proxy ก็จะออกไปหาในอินเทอร์เน็ต แล้วนำกลับมาเก็บใน cache เมื่อผู้ใช้ท่านอื่นต้องการ ก็จะนำจาก cache ไปใช้ได้ทันที สำหรับ Proxy server ที่นิยมใช้ใน Linux เช่น Squid มักให้บริการที่ port 3128 เป็นต้น Proxy server คือ เครื่องบริการที่ทำหน้าที่แปลง address ของเครื่องต้นทางเมื่อมี package ส่งไปยัง local host หรือแปลง address ปลายทาง เมื่อมี package ส่งไปยัง localhost โดยลักษณะที่ชัดเจนของ proxy server คือการทำ caching ทำให้ local host เข้าถึงข้อมูล ซ้ำ ๆ กันได้โดยตรงจากเครื่องบริการ ใน local network ไม่ต้องออกไปนอกเครือข่ายโดยไม่จำเป็น NAT (Network Address Translation)คือ คุณสมบัติหนึ่งของการแจก IP หรือการทำ IP Sharing เพราะในเครือข่ายขนาดใหญ่จะใช้ Local IP หรือ Fake IP แต่จะมี Real IP อยู่บางส่วน โปรแกรมเครื่องบริการบางโปรแกรมมีหน้าที่กำหนด Local IP ให้เครื่องลูก เมื่อเครื่องลูกต้องการออกไปอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ก็จะใช้ Real IP ออกไป จากลักษณะดังกล่าง อาจทำให้เครื่องที่เป็น NAT server ทำหน้าที่เป็น Firewall ปกป้องเครื่องลูก เพราะจะไม่มีใครทราบ Local IP ของเครื่องในองค์กรได้ เนื่องจากการออกไปสู่อินเทอร์เน็ตจะใช้ IP ของ NAT server เสมอ จึงไม่มีใครเจาะเข้าสู่เครื่องลูกได้โดยตรง การเป็น NAT server อาจไม่จำเป็นต้องใช้คุณสมบัติ Cache server ก็ได้ เพราะเครื่องที่เป็น Proxy server ที่มีศักยภาพต่ำ จะล่มได้เร็วกว่าเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น NAT เพียงอย่างเดียว สำหรับโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น NAT server เช่น WinGate, WinRoute, WinProxy หรือ ICS(Internet Connection Sharing) เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

IP Address version4 (IPv4)

IPv4 มีขนาด 32 bit ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 bitClassful Addressingเริ่มแรกเลย IPv4 มีการแบ่ง IP Address ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Network ID และ Host ID ซึ่งการแบ่งเป็น 2 ส่วนนี้ (Two-level addressing hierarchy) จะมีชื่อเรียกว่า Classful addressing อย่างไรก็ตามการนำ IP Address แบ่งเป็น2 ส่วนนี้ ทำให้การใช้งาน IP Address ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลังต่อไป

Network ID กับ Host ID คือ

Network ID คือ Network ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในโครงข่ายใด และ Network ID จะเป็นส่วนที่ Router ใช้สำหรับหาเส้นทาง (เช่น 192.168.1 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.0)

Host ID คือ Host ID ของ IP Address จะเป็นส่วนที่ระบุว่าอุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งใดของ Network (เช่น .2 เขียนเต็มรูปแบบคือ 192.168.1.2)

ยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจมากขึ้น1.1) กรณีเราที่จดหมาย เราก็จะจ่าที่อยู่ที่หน้าซองดังนี้

18 ถ.รังสิต-องครักษ์ ธัญบุรี ปทุมธานี 12130

1.2) จดหมายจะถูกส่งไปยังที่ทำการไปรษณีย์ จากนั้นก็จะดูว่ารหัสไปรษณีย์อะไร- ถ้าเป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์นั้น จดหมายก็จะถูกส่งต่อไปยังบ้านปลายทางเลย- ถ้าเป็นรหัสไปรษณีย์ของที่ทำการไปรษณีย์อื่น จดหมายก็จะถูกส่งต่อไปยังที่ทำการไปรณีย์ปลายทาง จากนั้นจดหมายจึงจะถูกส่งต่อไปยังบ้านปลายทางต่อไป2.1) กรณีเราส่ง E-mail เราก็จะทำการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง เราก็จะกรอก url (จริงก็คือ IP Address) ดังนี้192.168.1.2

2.2) ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง Router จากนั้น Router ก็จะดูว่าเป็น Network ID อะไร- ถ้าเป็น Network ID ของ Router นั้น ข้อมูลก็จะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่อยู่ภายใน Router- ถ้าเป็น Network ID ของ Router อื่น ข้อมูลก็จะถูกส่งต่อไปยัง Router ปลายทาง จากนั้นข้อมูลจึงจะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป

สรุป

1. IPv4 จะมีกลุ่มตัวเลขอยู่ 4 ชุด แต่ละชุดขั้นด้วยจุด

2. Classful Addressing จะมีรูปแบบเป็น 2 ส่วนคือ Network ID กับ Host ID

3. Network ID คือส่วนที่ระบุว่า IP Address อยู่ในโครงข่ายใด และเป็นส่วนที่ Router ไว้ใช้ค้นหาเส้นทาง

4. Host ID คือส่วนที่ระบุว่าคอมพิวเตอร์อยู่ที่ตำแหน่งใดของ Network

IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น

มาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด32 bit หรือ 4 byte แต่ล่ะ byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1. Network Address หรือ Subnet Address

2. Host Addressบนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card

Class ของแต่่ละ IP Address

Class

IP Address

Network Address

Host Address

A

w.x.y.z w x.y.z

B

w.x.y.z w.x y.z

Cw.x.y.z w.x.y z

ทำไมต้องแบ่งเป็น Classต่าง ๆ เพื่ออะไรเพื่อความเป็นระเบียบไงครับ ทางองค์กรกลางที่ดูแลเรื่องของ IP Address จึงได้มีการจัด Class หรือ หมวดหมู่ของ IP Addressไว้ทั้งหมด 5 Class โดย Class ของ Address จะเป็นตัวกำหนดว่า Bit ใดบ้างใน หมายเลข IP Addressที่ต้องถูกใช้เพื่อเป็น Network Address และ Bit ใดบ้าง ที่ต้องถูกใช้เป็น Host Address นอกจากนั้น Class ยังเป็นตัวกำหนดด้วยว่าจำนวนของ Network Segment ที่มีได้ใน Class นั้น ๆ มีเท่าไร และจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมีได้ ภายในNetwork Segment นั้น ๆ มีเท่าไร

Class DClass นี้จะไม่ถูกนำมาใช้กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่จะถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicastของบาง Application Multicast คือ เป็นการส่งจากเครื่องต้นทางหนึ่งไปยัง กลุ่ม ของเครื่องปลายทางอีกกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ใช่ ทุกเครืองใน Network Segment นั่น ๆ

Class EClass นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆวิธีสังเกต ว่า IP Address นี้อยู่ Class อะไร• ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 128-191 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class B

ถ้า Byte แรก ซ้ายสุดเป็น ตัวเลข 192-223 แสดงว่าเป็นหมายเลข IP Address ที่อยุ่ใน Class C• ส่วน 224 ขึ้นไปจะเป็น Multicast Address ที่กล่าวไว้ข้างต้น

Microsoft Windows Server 2003

Windows Server 2003 คือแพล็ตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มประสิทธิผลให้กับผู้ใช้ ให้มุมมองใหม่ของข่าวสารทางธุรกิจที่สำคัญต่อผู้ใช้ เพื่อจะสามารถทำงานร่วมกัน จัดการ และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในโลกแห่งการแข่งขันได้ดีขึ้น ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003 ทำให้งานด้าน IT มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกับช่วยลดค่าใช้จ่าย สำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก จนถึงศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่

ระบบปฏิบัติการตระกูล Windows Server 2003
1.สามารถช่วยให้:ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.แอพพลิเคชั่นได้รับการพัฒนา, นำไปใช้ และทำงานได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น
3.เพิ่มผลการทำงานให้กับทุกส่วนขององค์กร


การให้บริการอย่างต่อเนื่อง
สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ด้วยการปรับปรุงด้านการทำคลัสเตอร์ ซึ่งรองรับการมีเซิร์ฟเวอร์ถึง 8 เครื่อง

ความสามารถในการขยายระบบ
สนับสนุนทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพให้เซิร์ฟเวอร์ โดยรองรับการเพิ่มโปรเซสเซอร์แบบ 64-บิต สูงสุดถึง 64 ตัว (SMP) และการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์ให้กับระบบงาน ด้วยการทำคลัสเตอร์ รวมไปถึงการสนับสนุนโปรเซสเซอร์ทั้งแบบ 32-บิต และ 64-บิตด้วย

ความสามารถด้านการจัดการ
ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาลง ด้วยการทำงานให้โดยอัตโนมัติ โดย Windows Server 2003 มีเครื่องมือช่วยในด้านการจัดการ เช่น Active Directory® และ Group Policy, การใช้สคริปต์ และ wizard สำหรับปรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์

ความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ในฐานะของผู้นำในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับระบบที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า Windows Server 2003 ให้ความปลอดภัยสูงขึ้น ไม่ว่าจะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบจากที่ใด ด้วยอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ข้อมูลที่สำคัญของคุณจะได้รับการปกป้องตลอดเวลา Windows Server 2003 มีเว็บเซิร์ฟเวอร์ Internet Information Services (IIS) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ พร้อมรองรับโปรโตคอลที่มีความปลอดภัยสูง อย่างเช่น 802.1x และ PEAP รวมถึงมี common language runtime ที่มีส่วนทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยมากขึ้น
การมีรากฐานที่แข็งแกร่ง ทำให้องค์กรธุรกิจสามารถเสนอบริการที่มีค่าใช้จ่ายน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย


แอพพลิเคชั่นที่ดีขึ้น และทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม
Windows Server 2003 ใช้สถาปัตยกรรมที่มีเสถียรภาพ และสามารถขยายระบบได้ จึงเป็นแพล็ตฟอร์มที่ทรงพลังสำหรับแอพพลิเคชั่น โดยวางรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อให้การพัฒนาและจัดการกับแอพพลิเคชั่นทำได้ง่าย อีกทั้งความสามารถในการขยายระบบและการปรับปรุงประสิทธิภาพยังทำให้รันแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนั้น บริการสำหรับแอพพลิเคชั่น เช่น Microsoft .NET Framework, Message Queuing, COM+ และอื่นๆ จะรวมกันเป็นเครื่องมือที่นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบสามารถสร้างโซลูชั่นที่มีการเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็ว